50011315614

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับ search engine

                                                                               ความรู้เกี่ยวกับ search engine

              SEO มาจากคำว่า “Search Engine Optimization”

                           หมายถึง กระบวนการที่ทำให้เว็บไซต์ ปรากฏอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดของผลการค้นหาผ่าน Search Engine ด้วย Search Keyword ที่เกี่ยวข้องกับ ธุรกิจ ข้อมูล เนื้อหา บทความ สินค้าและบริการ ที่นำเสนอผ่านเว็บไซต์ของเรา โดยรักษาให้อยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดเสมอ (ปกติจะพยายามทำให้อยู่ในหน้าแรกของการค้นหา)

            ทำ SEO ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือไม่ ?

                  คำตอบก็คือ การทำ SEO ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดลำดับโดย Search Engine แต่ถ้าค่าใช้จ่ายสำหรับการจ้างเจ้าหน้าที่ หรือ ผู้เชี่ยวชาญนั้นในการทำ SEO นั้นต้องเสียแน่นอนครับ แล้วแต่ว่าจะมากน้อยเพียงใดตามข้อตกลง ถึงแม้คุณจะอยู่ในลำดับที่ 1 ในหน้าแรกก็ตาม แต่การทำ SEO นั้นจะต้องใช้ทักษะความรู้ ตลอดจนระยะเวลาในการทำให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับในหน้าแรก (โดยปกติหากมีทักษะอยู่แล้วไม่เกิน 6 เดือน)
                  ทำไมเราต้องทำ SEO ?
                    คำถามนี้อาจฟังดูแล้วธรรมดา แต่ในความรู้สึกผม ผมว่ามันไม่ธรรมดา การทำ SEO ต้องอาศัยทั้งทักษะและประสบการณ์มากมาย กับกฏเกณฑ์ที่ไม่ตายตัวของแต่ละ Search Engine อีกด้วย ถามว่าทำไมเราต้องทำ SEO ด้วยหละ จะขอตอบแบบที่เข้าใจกันง่าย ๆ ก็แล้วกัน เพื่อจะได้เข้าใจตรงกันตามประเด็นนี้มากขึ้น
1. เพื่อให้เว็บไซต์ของเราได้รับการจัดลำดับ ในอันดับที่ดีขึ้น (ยิ่งเป็นอันดับที่ 1 ใน Keyword นั้น ๆ ด้วยยิ่งดี)
2. เพื่อให้มีคนได้มีโอกาสเข้าเว็บเรามากขึ้นโดยการคลิกที่ลิงค์จากการค้นหาผ่าน Search Engine
3. เพื่อเป็นการประหยัดค่าโฆษณาเว็บไซต์ของเรา ที่ไปติดโฆษณาในที่ต่าง ๆ
4. เพื่อทำให้เว็บไซต์เราสามารถขายสินค้าและบริการได้มากขึ้น 5. เพราะการค้นหาข้อมูลผ่าน Search Engine มีคนใช้ถึง 81% เราต้องทำให้คนรู้จักเราให้ได้มากที่สุด
6. การทำ SEO เป็นการประหยัดเวลาระยะยาว (แต่ใช้เวลาทำนานไม่น้อยกว่า 6 เดือน)
7. ถ้าคุณติดลำดับต้น ๆ ในหน้าแรกแล้วจะทำให้เกิดการคลิกและเข้าเว็บเรามากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
8. เพื่อเป็นการพัฒนาเว็บไซต์ เพื่อให้เกิดการใช้งานโดยผู้ใช้ ไม่ใช่แค่เรากับเพื่อนเรา
9. เหตุผลอื่น ๆ ที่คุณอยากให้เว็บคุณเป็น

                           จะเห็นได้ว่าการทำ SEO นั้นมีผลดีโดยรวมทั้งสิ้น ถึงแม้จะใช้เวลาในการพัฒนานานก็ตาม แต่ผลตามมาคุ้มค่ามาก เพราะหากคุณได้รับการ Index ในหน้าแรกของการค้นหาผ่าน Search Engine แล้วหละก็ผลดีดีต่าง ๆ จะตามมาหลาย ๆ อย่าง และอีกประการการทำ SEO นั้นมีผลดีในระยะยาว (แต่คุณต้องไม่ใช้วิชามารในการทำ SEO หนะครับเพราะถ้าทำอย่างนั้นไม่นาน Search Engine ต่าง ๆ จะเริ่มแบนคุณภายในไม่เกิน 1 ปีอย่างแน่นอน)
ข้อสำคัญอีกประการ สำหรับการทำ SEO ถ้าคุณติดลำดับในหน้าแรกหรือหน้าที่สองแล้ว พยายามรักษาลำดับนั้น ๆ ให้ได้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้เพราะนั่นคือ ลำดับที่ดีที่สุดสำหรับเว็บของคุณแล้วในเบื้องต้น.

โปรโมทเว็บด้วย SEO

              คุณเคยได้ยินคำนี้แล้วหรือยัง “การโปรโมทเว็บด้วย SEO” คำว่า SEO ย่อมาจาก Search Engine Optimization หมายถึง การปรับปรุงเว็บไซต์ด้วยวิธีการต่างๆ และทำให้ Search Engine ค้นหาเว็บได้ง่ายสะดวกมากยิ่งขึ้น และเน้นทำให้ผลการค้นหา ค้นพบเว็บไซต์ของเราในหน้าแรกๆ หรือในตอนต้นๆ?ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วการทำ SEO มีรายละเอียดค่อนข้างมาก ปัจจุบันมีหนังสือหลายๆ เล่มที่เขียนวิธีเกี่ยวกับการทำ SEO? แต่นั้นเป็นเพียงพื้นฐานของการทำ SEO?เท่านั้น

พื้นฐานที่ควรทราบเกี่ยวกับ SEO
  • เน้นการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ถูกต้องตามความชอบของ Search Engine (แต่ละ Search Engine จะมีความชอบต่างกัน)
  • การทำ SEO มีข้อห้ามหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะห้ามหลอกลวง Search Engine เกี่ยวกับข้อมูลในเว็บของเรา เช่น เว็บของเราเน้นเรื่องท่องเที่ยว เป็นต้น แต่มีการทำหน้าเว็บหลอกลวงให้เว็บของเราเป็นเว็บขายของ และลิงค์มายังเว็บของเรา?
  • ข้อห้ามอีกอย่างหนึ่งของการทำ SEO คือ ห้ามใส่คำซ้ำๆ กันในหน้าเดียวกันจำนวนมาก เพราะถือว่าเป็นการหลอกลวง และถ้าจับได้ อาจถูกแบนเว็บไซต์ และชื่อของเว็บไซต์จะถูกถอนออกจากเว็บ Search Engine เลยทีเดียว
  • การทำ SEO ควรทำในรูปแบบที่เป็นธรรมชาติ หรือค่อยๆ เป็น ไม่ใช่ทำแล้วขึ้นอยู่ในหน้าแรกในทันที หรือใน 7 วัน ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ไม่สามารถทำได้ (อาจสืบเนื่องมาจากการทำ BackDoor ซึ่งหลอกลวง Search Engine ให้เข้าใจผิด อย่างนี้ต้องระวัง)?
                      สำหรับคนสนใจ การโปรโมทเว็บด้วย SEO ซึ่งจะมีผลดีอย่างมากในระยะยาว เพราะถ้าเว็บไซต์ติดอันดับและมีคนเข้าถึงเว็บไซต์ของเราได้ง่ายๆ เราสามารถหาบริษัทช่วยในการจัดทำ SEO ได้จากเว็บไซต์ Search Engine ได้เช่นเดียวกัน



ความหมายของ search engine
การค้นหาข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าเราเปิดไปทีละหน้าจออาจจะต้อง         เสียเวลาในการค้นหา และอาจหาข้อมูลที่เราต้องการไม่พบ การที่เราจะค้นหาข้อมูลให้พบอย่างรวดเร็วจะต้องใช้เว็บไซต์สำหรับการค้นหาข้อมูลที่เรียกว่า Search Engine Site ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมรายชื่อเว็บไซต์ต่างๆ เอาไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ ผู้ใช้งานเพียงแต่ทราบหัวข้อที่ต้องการค้นหาแล้วป้อน คำหรือข้อความของหัวข้อนั้นๆ ลงไปในช่องที่กำหนด คลิกปุ่มค้นหา (หรือกดปุ่ม Enter) เท่านั้น รอสักครู่ข้อมูลอย่างย่อ ๆ และรายชื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องจะปรากฏให้เราเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ทันที
Search Engine แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่จะเข้าไปหาข้อมูลหรือเว็บไซต์ โดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่เข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป

ประเภท Search Engine
๑. Keyword Index   เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในWeb Pageที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล อย่างน้อยๆ ก็ประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ ตัวอักษรแรกของWeb Pageนั้นๆ โดยการอ่านนี้จะหมายรวมไปถึงอ่านข้อความที่อยู่ในโครงสร้างภาษา HTML ซึ่งอยู่ในรูปแบบของข้อความที่อยู่ในคำสั่ง Alt  ซึ่งเป็นคำสั่งภายใน TAG คำสั่งของรูปภาพ แต่จะไม่นำคำสั่งของ TAG อื่นๆ ในภาษา HTML และคำสั่งในภาษา JAVA มาใช้ในการค้นหา วิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับข้อมูลก่อน-หลัง และความถี่ในการนำเสนอข้อมูลนั้น การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่หากว่าต้องการแนวทางด้านกว้างของข้อมูล และความรวดเร็วในการค้นหา วิธีการนี้ก็ใช้ได้ผลดี
๒. Subject Directories   การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา รายละเอียด ของแต่ละWeb Page ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้จะใช้แรงงานคนในการพิจารณาWeb Page ซึ่งทำให้การจัดหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นๆ อยู่ในเครือข่ายข้อมูลอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป การค้นหาค่อนข้างจะตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และมีความถูกต้องในการค้นหาสูง เป็นต้นว่า หากเราต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ หรือWeb Pageที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Search Engine ก็จะประมวลผลรายชื่อเว็บไซต์ หรือWeb Pageที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ล้วนๆ มาให้
๓. Metasearch Engines   จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) ดังนั้น หากจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย
การทำงานของ Search Engine  ประกอบไปด้วย ๓ ส่วนหลัก ๆ คือ
๑. Spider หรือ Web Robot จะเป็นตัวที่ทำหน้าที่เข้าสำรวจเว็บไซต์ต่างๆ แล้วดึงข้อมูลเหล่านั้นมาอัพเดทใส่ในรายการฐานข้อมูล ส่วนมาก Spider มักจะเข้าไปอัพเดทข้อมูลเป็นรายเดือน
๒. ฐานข้อมูล (Database) เป็นส่วนที่เก็บรายการเว็บไซต์ ฐานข้อมูลที่ดีควรจะมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะรองรับกับการเติบโตของเว็บไซต์ในปัจจุบัน การออกแบบฐานข้อมูลที่ดีก็เป็นส่วนสำคัญเพราะถ้าฐานข้อมูลออกแบบมาทำงานช้าก็ทำให้การรอผลนานและจะไม่ได้รับความนิยมไปในที่สุด
๓.โปรแกรม Search Engine มีหน้าที่รับคำหรือข้อความที่ผู้ใช้งานป้อนเข้ามา แล้วเข้าค้นหาตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล จากนั้นก็จะรายงานผลเว็บไซต์ที่ค้นพบให้กับผู้ใช้ การสืบค้นด้วยวิธีนี้นอกจากจะต้องมีระบบการสืบค้นข้อมูลที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพแล้ว การกลั่นกรองผลที่ได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญของการสืบค้นข้อมูล
ดังนั้น  การเลือกใช้เครื่องมือในการค้นหาจะต้องเข้าใจว่า ข้อมูลที่ต้องการค้นหานั้นมีลักษณะอย่างไร มีขอบข่ายกว้างขวางหรือแคบขนาดไหน แล้วจึงเลือกใช้เว็บไซต์ค้นหาที่ให้บริการตรงกับความต้องการ


                        ทุกท่านคงได้ทราบมาแล้วว่า Internet มีข้อมูลอย่างมากมายมหาศาล แต่บ่อยครั้งที่เราต้องการข้อมูลบางอย่างที่แน่ใจว่ามี หรือน่าจะมีใน Internet แต่กลับหาไม่พบ

                       ปกติแล้วการเข้า Website เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการในทันทีทันใดนั้น วิธีการที่ดีที่สุดคือ เราทราบ URL ของ Web Page นั้น ๆ แล้วป้อนเข้าไปในช่อง Address ของ Web Browser เช่น

ซึ่งเป็น URL ของ Website ที่แสดงรายงานผู้ป่วยโรค SARS ซึ่งกำลังเป็นหัวข้อที่สนใจกันมากในขณะนี้ กรณีนี้เราได้ทราบ URL มา จึงได้ข้อมูลที่ต้องการอย่างรวดเร็ว แต่มีบ่อยครั้งที่เราไม่ทราบ URL พวกนี้ แต่ต้องการหาข้อมูลที่ต้องการให้ได้อย่างรวดเร็ว ฉบับนี้จะแนะนำเทคนิคการค้นหาข้อมูลในInternet โดยใช้ Search Engine จาก Web site ที่เปิดให้บริกาค้นหาข้อมูลบน Intenet

Search Engine ที่นิยมใช้
Search Engine ที่เป็นที่นิยมของคนทั่วโลก ได้แก่http://www.google.com http://www.altavista.com http://www.yahoo.com
http://www.infoseek.com http://www.lycos.com http://www.webcrawler.com
สำหรับ Search Engine ที่สามารถค้นหาคำภาษาไทย และค้นหา Web Site ของไทย ได้แก่http://www.google.com http://www.siamguru.com http://www.thaiseek.com http://search.cscoms.com/
                                                    
  การใช้ Search Engine หาข้อมูลที่ต้องการ
                          อันดับแรกต้องเข้าใจว่า Search Engine แต่ละแห่งนั้น แม้จะใช้ค้นหาข้อมูลบน Web เหมือนกัน แต่อาจจะมีวิธีการใช้งานที่แตกต่างกันไป ถ้าจะใช้ค้นหาให้ได้ประสิทธิภาพจริง ๆ ควรอ่านวิธีการใช้งานของ Search Engine นั้น ๆ ด้วย สำหรับหลักการใช้ Search Engine โดยทั่วไป เพื่อค้นหาข้อมูลที่ต้องการ มีดังนี้

1. ค้นหาจาก Directory หรือ Category
Web Site ที่ใช้ค้นหาส่วนใหญ่มักมีการจัดทำหมวดหมู่ (Category หรือ Directory) ของข้อมูลต่าง ๆ ไว้แล้ว ถ้าเราทราบว่าสิ่งที่เราต้องการค้นหา ควรจะอยู่ในหมวดหมู่หรือหัวข้อใด ก็ควรเข้าไปดูและตรวจสอบในหมวดหมู่ดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้ได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการมากขึ้นและยังมีโอกาสเลือกสิ่งที่น่าสนใจเพิ่มเติมขึ้นอีกด้วย

2. ค้นหาจาก Search Engine หลาย ๆ แห่ง
เนื่องจากข้อมูลใน Internet มีมากมายมหาศาล ไม่มี Search Engine ใดที่จะค้นหาข้อมูลได้ครอบคลุมทั้งหมดได้
ดังนั้นเมื่อค้นหาข้อมูลที่ต้องการไม่พบใน Search Engine ตัวหนึ่ง ควรลองใช้ Search Engine อื่น ๆ อีก เพราะนอกจากจะทำให้ได้ข้อมูลที่ต้องการแล้ว อาจทำให้ได้ข้อมูลที่หลากหลายมากขึ้น

3. การค้นหาโดยใช้คำสำคัญ (Keyword)
คำที่ใช้เป็นหลักในการค้นหา จำเป็นต้องมีความเฉพาะเจาะจง หรือเป็นเอกลักษณ์ เพื่อให้ Search Engine ทำการค้นหาได้ผลลัพธ์ออกมาตรงตามความต้องการ และมีผลลัพธ์ไม่มากเกินไป ทำให้ไม่เสียเวลาอ่านผลลัพธ์ที่ไม่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่าง ได้แก่

ต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับโครงงานพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ และเคยได้ยินชื่อโครงงานว่าชื่อ BUDSIR เราจึงใช้คำว่า “BUDSIR” เป็น Keyword ในการค้นหา
ต้องการตรวจสอบผลการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปีการศึกษา 2546 สามารถระบุคำว่า “ผล entrance ปี 46” เป็น Keyword สำหรับ Search Engine ที่รองรับการสืบค้นภาษาไทย

4. ใช้ Advanced Search
ในหลายกรณีที่ไม่อาจหาคำที่เฉพาะเจาะจงในการค้นหาได้ จึงจำเป็นต้องใช้หลาย ๆ คำประกอบกัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการ Search Engine ส่วนมากจะรองรับการค้นหา โดยใช้คำสั่งที่เรียกว่า Boolean Operator ต่อไปนี้

AND เป็นการบังคับการค้นหา โดยให้ผลลัพธ์ที่ออกมามีคำทั้งหมดที่เราใส่ไว้ เช่น เมื่อทำการค้นหาคำว่า cloning AND dolly ผลลัพธ์ที่ออกมาต้องมีทั้งคำว่า cloning และ dolly ด้วย โดยปกติแล้ว Search Engine ทั่วไปมักใช้ AND เป็นกฎเกณฑ์ในการค้นหาอยู่แล้วเมื่อใส่คำมากกว่า 1 คำในการค้นหา ดังนั้นเมื่อค้นหาคำว่า cloning dolly จะให้ผลเหมือนกับ cloning AND dolly

OR เป็นการบังคับการค้นหาให้ผลลัพธ์มีทั้งคำที่ 1 หรือ คำที่ 2 (หรือทั้ง 2 คำ) กรณีนี้ มีการใช้ไม่มากนัก
เนื่องจากจะได้ผลลัพธ์มากกว่าการใช้ AND แต่หลาย Search Engine ก็รองรับคำสั่งนี้

NOT เป็นการระบุให้ Search Engine ค้นหาคำโดยตัดคำที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป เช่น กรณีที่ค้นหาคำว่า cloning NOT dolly ผลลัพธ์ที่ได้จะมีคำว่า cloning แต่ไม่มีคำว่า dolly

* ใช้ในการหาเฉพาะส่วนของคำ ซึ่งทำได้เฉพาะในบาง Search Engine เท่านั้น

Phrase เป็นการค้นหาโดยใช้วลี เช่น “genetic engineering” ผลลัพธ์ที่ได้ ต้องมีคำที่ 1 ตามด้วยคำที่ 2 เท่านั้น

วิธีการใช้คำสั่ง Boolean Operator เหล่านี้อาจแตกต่างกันออกไปในแต่ละ Search Engine ผู้ใช้บริการควรอ่านวิธีการค้นหาของ Search Engine แต่ละแห่งก่อนใช้งาน ปัจจุบันการค้นหาข้อมูลในลักษณะ Advanced Search นี้มักเป็นลักษณะให้เลือกเติมคำเฉพาะเองด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ

                        การทำ Search Engine มีหลายแบบ ได้แก่

1. การแนะนำผ่าน Search Engine ของต่างประเทศ

                    เครื่องมือที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดเพื่อการประชาสัมพันธ์หรือโปรโมทเว็บไซต์เปรียบเสมือนคนที่มีความกว้างขวางและคอยแนะนำให้นักท่องเน็ตรู้จักเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยนายโฮสดอทคอมจะแนะนำผ่าน Search Engine ของต่างประเทศ มากถึง 100 แห่ง ซึ่งประกอบด้วย Search Engine ที่ได้รับความนิยมสูงทั้งหลายเช่น yahoo!, altavista, google, go, excite, lycos, powersearch, earthfine, และอื่น ๆ อีกมาก (Search Engine คือ เว็บไซต์ที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งรวบรวมเว็บไซต์อื่น ๆ และสามารถค้นหาเว็บไซต์เป้าหมายได้ด้วยชื่อหมวด Category หรือคำค้น Keyword)

2. การแนะนำผ่าน Seach engine และเว็บไซต์ไดเร็คตอรี่ของไทย

            เว็บไซต์ของคนไทยจำนวนมากที่มีเนื้อหาเป็นภาษาไทยและสร้างขึ้นโดยมีเป้าหมายคือกลุ่มคนไทย ดังนั้นการแนะนำเว็บไซต์ของท่านผ่าน Search Engine สัญชาติไทยจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และรวมไปถึงเว็บไซต์ของไทย   

รายอื่น ๆ ที่มีลักษณะเป็นไดเร็คตอรี่เพื่อการจัดหมวดหมู่เว็บไซต์อื่นด้วยโดย นายโฮสดอทคอม ได้รวบรวมเว็บไซต์เหล่านี้จำนวนกว่า 100 ไซต์

อาทิ sanook, hunsa, 108-1009, mthai, lemononline, catcha, yumyai, I-kool, thaiwebhunter, siamguru,

thaiseek, thaicast, thaimisc และอื่น ๆ อีกมาก


การทำงานของเว็บไซต์ค้นหา

                ก่อนที่เราจะใช้ เว็บไซต์ค้นหา ในการทำตลาดให้กับเว็บไซต์ของเรา เรามาดูวิธีการทำงานของเว็บไซต์ค้นหาต่าง ๆ กันก่อนดีกว่า ปกติแล้วเว็บไซต์ค้นหาจะแบ่งออกเป็น 3 จำพวกนั่นคือ

               Search Engine เป็นเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือในการที่จะค้นหาเว็บไซต์ต่าง ๆ มาเก็บไว้ในฐานข้อมูลของตัวเองโดยอัตโนมัติ เช่น Google.com หรือ Altavista.com ซึ่งเครื่องมือนี้ มีชื่อเรียกว่า Search Robot จะทำหน้าที่คอยวิ่งเข้าไปอ่านข้อความจากหน้าเว็บไซต์ ของเว็บต่าง ๆ แล้วนำมาจัดลำดับคำค้นหา (Index) ที่มีในเว็บไซต์เหล่านั้น เก็บไว้ในฐานข้อมูลของตนเอง เมื่อเราเข้าไปใช้บริการ กับ Search Engine ต่าง ๆ ก็จะเป็นการไปค้นหาคำต่าง ๆ ที่ Search Engine ได้เก็บรวบรวมไว้แล้วนั่นเอง

              Web Directory เป็นเว็บไซต์ค้นหาที่ใช้วิธีการ เพิ่มข้อมูลเข้าไปในฐานข้อมูลของระบบด้วย กำลังคน (มีเจ้าหน้าที่คอยเพิ่มข้อมูลเข้าไป) จะไม่มีการส่ง Robot ออกไปค้นด้วยตนเองแต่อย่างใด ซึ่งการจะนำชื่อเว็บไซต์ของเราให้เข้าไปอยู่ใน Web Directory นี้จะต้องไปทำการเพิ่มชื่อเข้าไปเอง เว็บประเภทนี้ก็เช่น Yahoo.com และ Dmoz.org

            Meta Engine เป็นเว็บไซต์ที่ไปค้นหาจากเว็บไซต์ค้นหาอีกที ซึ่งเว็บประเภท Meta Crawler นี้จะทุ่นแรง โดยการนำคำทีต้องการค้น ไปค้นจากเว็บค้นหาประเภทต่าง ๆ และนำมาแสดงรวมกันให้เราดูอีกที ซึ่งก็สะดวกไปอีกแบบหนึ่งครับ เว็บประเภทนี้ก็เช่น Metacrawler.com, Go2net.com และ Thaifind.com

วิธีการหาข้อมูลที่ต้องการให้พบ


                       การหาข้อมูลที่ต้องการให้พบ ไม่ใช่เรื่องยาก หากมีเทคนิคนิด ๆ หน่อย... โดยปกติแล้วการค้นหาข้อมูลที่ต้องการก็เพียงแค่ เราไปใส่คำที่ต้องการค้นหาในเว็บไซต์ค้นหา แล้ว กดปุ่ม สำหรับค้น ก็จะมีข้อมูลต่าง ๆ ออกมาให้เราเลือก ว่าใช่เรื่องที่เราต้องการค้นหาหรือไม่ แต่หากเราใช้คำหลาย ๆ คำเช่น Bronze Sculpture Thailand บางทีอาจจะทำให้เว็บไซต์ค้นหา แสดงผลออกมาได้ไม่ตรงกับความต้องการก็ได้ ซึ่งในเกือบทุก ๆ เว็บไซต์ค้นหา จะยอมรับคำสั่งทั่ว ๆ ไป ในการแสดงผลลัพธ์ ซึ่งหากเรานำคำสั่งเหล่านั้นมาใช้ ก็จะช่วยให้เราค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้เร็ว ซึ่งคำสั่งทั่ว ๆ ไปมีดังนี้ AND เป็น คำสั่งให้รวมคำค้นหาที่อยู่ระหว่าง AND เข้าด้วยกัน เช่น Bronze AND Thailand เว็บไซต์ค้นหา จะไปหาหน้าเว็บไซต์ที่มี ทั้งคำว่า Bronze และ Thailand อยู่ในหน้าเดียวกันออกมา วิธีใช้คำสั่งจะสามารถใช้ได้ในหลายรูปแบบดังนี้ Bronze AND Thai, "Bronze Thai", Bronze + Thai, Bronze & Thai

แต่ที่นิยมใช้มากที่สุดจะอยู่ในรูปแบบ Bronze + Thai 
OR เป็น คำสั่งให้เลือกคำใดคำหนึ่ง หรือ ทั้งสองคำมาแสดงผล เช่น Bronze OR Thailand
เว็บไซต์ค้นหา จะค้นหาหน้าเว็บไซต์ ที่มีคำว่า Domain หรือ Siam ออกมาแสดงก็ได้ ซึ่งปกติแล้ว ค่าเริ่มต้นของทุก เว็บค้นหา จะเป็น OR อยู่แล้ว วิธีใช้คำสั่งจะสามารถใช้ได้หลายรูปแบบดังนี้

Bronze OR Thailand, Bronze Thailand

แต่ที่นิยมมากที่สุดจะอยู่ในรูปแบบ Bronze Thailand  
NOT เป็นคำสั่งให้ตัดเว็บไซต์ที่มีคำค้นหา ตามหลัง NOT
ออกไป เช่น Thailand NOT Bangkok เป็นคำสั่งให้ค้นหาคำว่า Thailand แต่ไม่เอาหน้าที่มีคำว่า Bangkok วิธีใช้คำสั่งจะสามารถใช้ได้หลายรูปแบบดังนี้

Thailand NOT Bangkok, Thailand -Bangkok

แต่ที่นิยมมากที่สุดจะอยู่ในรูปแบบ Thailand -Bangkok


                       ซึ่งหากเรานำคำสั่งต่าง ๆ เหล่านี้มาประยุกต์ใช้กับคำค้นหาเรา ก็จะทำให้เราสามารถค้นหาเว็บที่ให้ข้อมูล    ได้ตรงกับความต้องการภายในเวลารวด เร็ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น