50011315614

วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความรู้เรื่องบล็อก

                                        


                             ความรู้เกี่ยวกับ Blog และการเปิดใช้งาน multi-blog
   
              สำหรับเช้าวันนี้ ขออนุญาตนำบทความเชิงวิชาการในเรื่อง Blog ของ ดร.จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
             
              บล็อก (Blog or Weblog) คืออะไร?

             บล็อก (Blog) หรือ เว็บบล็อก (Weblog) เป็นเว็บไซต์สำหรับเขียนบันทึกเล่าเรื่องราวประจำวันเพื่อสื่อสารความรู้สึกนึกคิด มุมมอง ประสบการณ์ ความรู้ และข่าวสาร ในเรื่องที่ผู้เขียนท่านหนึ่งๆ (Blogger) สนใจโดยเฉพาะ ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้ทำให้บล็อกต่างกับเว็บบอร์ด และเนื่องจากความจริงใจและอิสระทางความคิดที่สื่อสารออกไป ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ใน ลักษณะของบุคคลที่หนึ่ง เป็นการบ่งบอกถึงความเป็นตัวตนของผู้เขียนได้เป็นอย่างดีทีเดียว จึงทำให้บล็อคเป็นสื่อที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในนานาประเทศ
ลักษณะของเว็บไซต์ที่เป็นบล็อก สังเกตได้ง่ายๆ จากลักษณะต่างๆ ดังนี้คือ
  • มีการบันทึกเนื้อหาโดยเจ้าของบล็อกอย่างสม่ำเสมอ
  • ข้อมูลจะถูกจัดไว้อย่างเป็นระเบียบ คือรายการล่าสุดจะถูกแสดงไว้ด้านบนสุดของเว็บเพจ แล้วไล่ลำดับย้อนหลังตามวันเวลาการเขียนไปเรื่อยๆ
  • มักจะมีการลิงค์ไป หาบล็อกอื่นที่ผู้เขียนสนใจหรือได้เสนอความคิดเห็นโยงต่อจากข้อเขียนที่เขา อ้างถึง    ดังนั้น นอกจากบล็อกจะใช้ในการเขียนและเผยแพร่เรื่องราวต่างๆ แล้ว ก็ยังเป็นแหล่งรวมลิงค์ที่เจ้าของบล็อกนั้นๆ ใช้เป็นฐานเพื่อเสริมต่อความรู้อยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นลิงค์ของบล็อกอื่นๆ หรือลิงค์ของเว็บไซต์ก็ตาม
  • บันทึกที่เขียนไว้ในบล็อกมักจะมีการแยกแยะเป็นกลุ่มเนื้อหาตามหัวข้อหลักๆ ที่ผู้เขียนสร้างขึ้น เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้อ่าน ที่สนใจในบันทึกที่มีความสัมพันธ์กันในใจความหลัก
  • และเมื่อผู้อ่านได้รับความรู้ต่างๆ จากผู้เขียนบล็อกแล้ว ผู้อ่านมักจะมีการเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม      เพื่อเป็นการต่อยอดความรู้และเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกลุ่มผู้อ่านและผู้เขียนบล็อก
         บล็อกแต่ละบล็อกจะมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เช่น บล็อกที่เกี่ยวกับการจัดการความรู้ บล็อกด้านการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย บล็อกด้านการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ส เป็นต้น การสร้างจุดยืนของบล็อกเช่นนี้ และมีการเขียนที่เป็นประจำสม่ำเสมอ จะทำให้บล็อกเป็นที่น่าสนใจติดตามจากผู้อ่านมากมาย
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนแต่ละคนอาจจะมีความรู้ความถนัดในหลากหลายด้าน การจะนำความรู้ทั้งหมดมาเขียนในบล็อกเดียวอาจทำให้การแยกแยะความรู้เป็นไป ด้วยความลำบาก ทำให้หาแก่นความรู้ได้ยาก และสำหรับผู้อ่านแล้วก็อาจจะยากในการติดตามอ่าน ดังนั้น สำหรับผู้เขียนหนึ่งคน ความสามารถของระบบในการสร้างบล็อกได้มากกว่าหนึ่งบล็อก เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน

 ที่มา: บล็อก (Blog หรือ Web log) คืออะไร? โดย ดร.จันทวรรณ ปิัยะวัฒน์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, พฤษภาคม: 2548.

           การเปิดใช้งาน Multi-blog ใน Tumblr

         สำหรับผู้ใช้ที่มีความประสงค์จะแยกหมวดหมู่หรือวัตถุประสงค์ของการใช้ งานบล็อกออกจากกันเป็นประเภทต่างๆ กันใน Tumblr นั้น คุณสามารถเปิดใช้งานบล็อกนี้ได้หลายบล็อกในอีเมล์ที่ใช้สมัครอันเดียวกันได้ 

        ขั้นตอนการเปิดใช้งานบล็อกหลายบล็อกใน Tumblr มีดังนี้
1. ไปที่หน้า Tumblr Dashboard
2. เลือกแท็บที่ระบุชื่อ Main Blogของคุณ คลิกที่ข้อความ +Create a new blog จะปรากฏหน้าต่างใหม่
3. จากนั้นให้ระบุชื่อของบล็อกที่ต้องการในช่อง Title และระบุชื่อ URL สำหรับบล็อกนั้นในช่อง URL    ทำคล้ายๆ กับ Main Blog เลย) ส่วนการตั้งรหัสผ่านเพื่อป้องกันการเข้าถึง จะตั้งหรือไม่ก็ได้
4. คลิกที่ปุ่ม Create blog
เพียงเท่านี้คุณก็สามารถมีบล็อกหลายบล็อกเพื่อใช้งานในวัตถุประสงค์หรือแยกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ กันได้แล้ว

       
 
 
 Web log หรือเรียกสั้นๆ ว่า blog (บล็อก) เป็นหนึ่งในความพยายามที่จะนำเวบไปใช้งานในรูปแบบอื่น ให้อธิบายง่ายๆ blog คือ ไดอารี่ออนไลน์นั่นเอง เริ่มจากเราทำการสมัครสมาชิกของ blog หรือจะตั้งเซิร์ฟเวอร์เองก็ได้ แล้วก็เขียนเรื่องราวต่างๆ ตามใจชอบ         โดย blog จะแสดงผลตามวันเหมือนกับไดอารี่ทุกประการ หลายคนอาจเกิดคำถามว่า แล้วจะเขียนเรื่องอะไรลงใน blog ของเราดีล่ะ อันนี้หลากหลายมาก (เหมือนกับเราเขียนไดอารี่นั่นแหละ) บางคนอาจจะบันทึกเรื่องที่เจอในแต่ละวัน บางคนอาจจะเขียนวิจารณ์ข่าวสารบ้านเมือง บางคนอาจจะแนะนำเวบไซต์ที่เจอมาในวันนั้น แต่งกลอน โพสรูปที่ไปเที่ยวมา หรือบางครั้งก็ร่วมกันเขียนเป็นทีม ขึ้นกับเจ้าของ blog ว่าต้องการเขียนไปในทางไหน
            ทำไม blog ถึงมีค่าแก่การพูดถึง?
       อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว การเขียน blog ฟังดูธรรมดามากเลยใช่มั้ยครับ แต่ตอนนี้มันกลายเป็นสิ่งที่ฮิต และอินเทรนด์ที่สุดบนอินเทอร์เน็ตไปแล้ว ผมลองมานั่งนึกสาเหตุที่ทำให้ใครๆ ก็ติด blog มาได้หลายประการดังนี้ครับ
1. เขียน blog เหมือนกับเล่นเวบบอร์ด
กฎข้อแรกของการสร้างเวบไซต์ให้ติดตลาด คือ ต้องทำให้ผู้ชมกลับมาเยี่ยมเวบของเราอีกให้ได้ และวิธีที่ง่ายและได้ผลที่สุดคือ สร้างชุมชนของผู้ชม (Community) ให้เกิดขึ้นบนเวบของเรา เพราะเหตุนี้จึงทำให้เวบที่เน้นการสนทนาผ่านเวบบอร์ดอย่าง Pantip.com กลายเป็นเวบไซต์อันดับหนึ่งของเมืองไทยมาหลายปี blog เป็นการแสดงความคิดเห็นของเราให้คนอื่นอ่านวิธีหนึ่ง เพียงแต่เป็นเวบบอร์ดส่วนตัวที่คนเขียนคือเจ้าของ blog เท่านั้น (ผู้ชมสามารถแสดงความเห็นได้เป็น comment)
2. เขียน blog ไม่ต้องระวังเท่าเวบบอร์ด
จุดอ่อนของเวบบอร์ดคือคนเยอะ และเมื่อเกิดความขัดแย้งกัน ก็จะทะเลาะกันใหญ่โต Pantip.com เจอปัญหานี้มากจนต้องตั้งระบบสมาชิกที่เข้มงวด ทำให้ลำบากในการสมัคร blog เข้ามาทดแทนในจุดนี้ได้พอดี เราสามารถเขียนอะไรลงใน blog ของเราก็ได้โดยไม่ต้องกลัวใครว่า ไม่ต้องกลัวข้อมูลมั่ว (เพราะว่าเป็น blog ของเรานี่นา) ทำให้หลายๆ คนเกิดความสบายใจในการเขียน blog มากกว่าเวบบอร์ดที่มีคนมาคอยเถียงหรือจับผิด
3. blog มีเนื้อหาต่อเนื่อง
คนที่สนใจในเรื่องเดียวกันก็มักจะเข้าเวบบอร์ดเฉพาะเรื่อง แต่ปัญหาอีกอย่างของเวบบอร์ดคือ กระทู้ตกเร็ว และแต่ละกระทู้ไม่ต่อเนื่องกัน เพราะต่างคนต่างโพส แต่ blog นั้นเป็นของเจ้าของคนเดียว เขียนคนเดียว สามารถควบคุมความต่อเนื่องของเนื้อหาได้สะดวกกว่า ยิ่งเจ้าของ blog นั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เราสนใจพอดี นี่จะสนุกมากเลยครับ ได้อ่านอะไรๆ ที่วงในเค้ารู้กันได้จาก blog นี่ล่ะ
4. มันก็เหมือนแอบอ่านไอดารี่คนอื่น
การแอบอ่านไดอารี่เป็นอะไรที่ไม่ดีแต่สนุกมาก blog นั้นกลับกัน เป็นไดอารี่ที่อยากให้คนอื่นอ่าน ดังนั้นเจ้าของ blog จะประดิษฐ์ ประดอยหาเรื่องที่น่าสนใจมาเขียนให้อ่าน ทำให้เรื่องใน blog นั้นก็น่าสนใจมากขึ้น